Google Rich Snippet คือ โค๊ดชุดหนึ่งที่ช่วยบอก search engine ให้เข้าใจว่า หน้านี้หรือบทความนี้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับอะไร เช่น ถ้าบทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวกับสินค้า ก็ควรจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อสินค้าชื่ออะไร ราคาเท่าไหร่ ผู้ขายเป็นใคร เป็นต้น ถ้าเรามีข้อมูลพวกนี้ก็จะช่วยให้ search engine เข้าใจได้ง่ายขึ้นและนำไปแสดงผลให้ user ดูเวลาค้นหา keyword ที่เกี่ยวข้องกับบทความเรา
ยาวไป? เลือกอ่านตามหัวข้อ
Google Rich Snippet
นอกจากจะเป็นผลดีกับ search engine แล้วยังเป็นผลดีกับ user ด้วย เพราะช่วยให้ user เข้าใจรายละเอียดเบื้องต้นของหน้านั้นได้โดยที่ไม่ต้องคลิกเข้าดู ลองดูภาพประกอบต่อไปนี้
จากภาพจะมีการแสดงจำนวนดาว และคะแนน ของบทความนี้ว่าได้เท่าไหร่ เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของ user ได้ในขั้นต้นว่าจะคลิกเข้าไปอ่านหรือไม่ การแสดงผลแบบนี้เรียกว่า Google Rich Snippets
คราวนี้เราลองมาดูรูปด้านล่าง ที่ไม่มีดาว ดูแล้วก็รู้สึกธรรมดาไม่ได้โดดเด่นอะไร เทียบกันกับ รูปด้านบน รูปที่มีดาวดึงดูดให้อยากคลิกมากกว่าแน่นอน
วิธีตรวจดูว่าบทความที่เราเขียนมี structure data หรือไม่
คลิก แล้วกรอก url เว็บที่เราต้องการลงไปแล้วกด RUN TEST หรือใครที่ลงปลั๊กอิน yoast seo ไว้แล้วก็เลือกตามภาพได้เลย
รอสักครู่ระบบจะตรวจว่าบทความเรามีข้อมูลอะไรบ้างและนำมาแสดงผลบอกเราทางด้านขวามือตามภาพ
จากรูปคือบทความ แจ้งเตือนเว็บล่มผ่าน Line บริการฟรี ที่คนทำเว็บห้ามพลาด ซึ่งมีข้อมูลอยู่ 2 ก้อนคือ Article และ Breadcrumb
ลองคลิกเข้าไปดูจะเจอรายละเอียดของบทความต่าง ๆ เช่น ชื่อบทความ headline วันที่เขียน ฯ ตามรูป
จากรูปจะสังเกตุเห็นว่าปุ่ม PREVIEW ด้วย ลองกดดูจะเป็นแบบนี้
ถ้าของใครไม่มีแสดงว่าบทความยังไม่รองรับ AMP นะครับ วิธีทำอ่านได้ที่นี่ วิธีติดตั้ง AMP ใน WordPress
อธิบายมาพอสมควรต่อไปมาดูวิธีทำกันครับ
1.ใช้ Structured Data Markup Helper
Structured Data Markup Helper เป็นเครื่องมือที่ทาง Google มีไว้ให้เราสามารถใช้งานได้ฟรี โดยเจ้าเครื่องมือนี้จะช่วยสร้าง schema ให้เรานำไปใช้ได้โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านนี้ก็ได้ สามารถเข้าไป Generate Schema ได้ที่ลิงก์นี้ คลิก
ขั้นตอนที่ 1
เข้ามาแล้วจะเจอตามภาพด้านบน สำหรับหน้านี้ให้เราเลือกประเภทของ schema ที่เราต้องการนะครับ จากตัวอย่างผมเลือกเป็น Articles หรือก็คือบทความนั่นเอง เสร็จแล้วให้เราใส่ url ของบทความที่เราจะทำ schema ลงไปที่ช่อง URL แล้วกด Start Tagging
ขั้นตอนที่ 2
สำหรับขั้นตอนนี้ ให้เราระบุข้อมูลที่ระบบต้องการสำหรับ Generate Schema ให้เราครับ จากภาพข้อมูลที่จำเป็นต้องมีคือ Name:
ให้เรา Drag ที่ชื่อบทความด้านซ้ายมือแล้วเลือก Name แค่นี้ ชื่อบทความก็จะถูกนำไปกรอกใส่ช่อง Name: ทางด้านขวามือให้อัตโนมัติ
ลองดูภาพประกอบภาพนี้
เสร็จแล้วกด CREATE HTML เราก็จะได้ Code ที่พร้อมใช้งานตามภาพด้านล่าง copy เอาไปใส่ในบทความเราได้เลย
จากที่ผมทดลองใช้งานดูก็สะดวกในระดับหนึ่ง ไม่ต้องมาเขียนโค๊ดเอง เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมก็ใช้งานได้ วิธีนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกเว็บจะเขียนเองหรือเป็น cms ก็ใช้งานได้
WordPress มาทางนี้
ผมทดลองใช้หลาย ๆ ปลั๊กอิน จนได้ 2 ปลั๊กอินที่คิดว่าใช้งานง่ายเลยนำมาแนะนำให้ลองนำไปใช้กัน
1.Schema
จากที่ทดลองใช้งานดู ปลั๊กอินนี้ทำออกมาได้ค่อนข้างยืดหยุ่น สามารถเพิ่ม Schema Type ที่เราต้องการได้ กำหนดได้ว่าต้องการให้ บทความไหนใช้ schema หรือไม่ ตั้งค่าโปรไฟล์ ข้อมูลพื้นฐานของเว็บไซต์เราที่จะแสดงใน schema
ข้อเสียคือ ใส่เรทติ้ง (ดาว) เองไม่ได้
2.WP SEO Structured Data Schema
จากที่ลองใช้ปลั๊กอินนี้ดูก็พบว่าใช้งานได้ค่อนข้างง่าย สามารถกำหนดประเภทของ schema ได้หลายประเภท ใส่เรทติ้ง (ดาว) เองก็ได้จะใส่กี่ดาวก็ตามใจเราเลย แต่ก็มีข้อเสียอยู่ข้อคือ ไม่ซัพพอร์ท Post Type ที่เป็นสินค้า ใครใช้ WooCommerce ก็อดนะครับ
สรุป
- Google Rich Snippet ดีทั้งต่อ search engine และ user
- ดึงดูดให้ user คลิก
- ทำได้โดยใช้ปลั๊กอินและเครื่องมือจาก google
หากอ่านแล้วชอบบทความจาก CodingDee ก็ฝาก กดไลค์เพจ ด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดข่าวสารเทคนิคดี ๆ จากเรา หรือติดปัญหาตรงไหนก็คอมเมนต์ไว้ด้านล่างนี้ได้ ไว้พบกันบทความต่อไปครับ