WordPress

เทคนิค wordpress ต่าง ๆ ที่ CodingDee ใช้ในการทำเว็บและนำมาเขียนเป็นบทความไว้เพื่อแบ่งปันให้ผู้อื่นที่พบปัญหาแบบเดียวกันสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

WordPress หน้าขาว
WordPress หน้าขาว ปัญหายอดฮิตอีกปัญหาที่คนทำ WordPress ต้องพบเจออยู่เป็นประจำ บทความนี้ CodingDee จะพามาดูวิธีรับมือเมื่อ WordPress ขึ้นหน้าขาว โล่ง ๆ ไม่มีอะไรเลย มาดูกันครับ WordPress หน้าขาว แก้ได้ง่าย ๆ CodingDee ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาไว้ให้ 5 วิธีลองเลือกนำไปปรับใช้ดูครับ 1. เปิดโหมด Debug Default ของ WordPress จะปิดโหมดนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยครับ เว็บจะไม่แสดงข้อความหรือ error อะไรออกมา ทำให้เราเห็นเป็นหน้าขาว ๆ โล่ง ๆ วิธีที่จะทำให้ WordPress บอกเราว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้กันต่อไป วิธีก็คือให้เราไปที่ไฟล์ wp-config.php แล้วมองหาบรรทัดนี้ define( 'WP_DEBUG', false); แก้จาก false เป็น true ก็จะได้แบบนี้ define( 'WP_DEBUG', true); save แล้วลองเปิดหน้าเว็บดูก็จะเจอ ข้อความหรือ error ที่ WordPress ส่งออกมาให้เราดูเราก็นำข้อความตรงนี้ไป Search Google เพื่อหาวิธีแก้ไขต่อไปครับ 2.ปิด Plugin ให้หมดทุกตัว WordPress หน้าขาว...
WP Fastest Cache
WP Fastest Cache ปลั๊กอินจัดการแคชที่ตั้งค่าได้ง่ายมาก ๆ เหมาะสำหรับใครที่ใช้ WordPress แล้วเว็บอืด เว็บช้า ลองปลั๊กอินนี้ดู เว็บ รับรองว่าเว็บโหลดได้เร็วปรี๊ด ลื่นหัวแตกแน่นอน WP Fastest Cache ตั้งค่ายังไงให้เว็บลื่นหัวแตก ปลั๊กอินนี้เป็นปลั๊กอินที่ CodingDee มักจะแนะนำให้ลูกค้าใช้งานอยู่เสมอเพราะมันใช้งานง่าย คลิกไม่กี่คลิกก็เสร็จ เว็บเร็วขึ้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านนี้ก็สามารถใช้งานได้ ไปดูวิธีตั้งค่ากันเลยครับ ก่อนอื่น โหลดปลั๊กอิน มาติดตั้งก่อน ใครลงปลั๊กอิน Cache ตัวอื่นอยู่ปิดก่อนนะครับเดี๋ยวมันตีกัน โหลดเสร็จแล้วก็เข้าไปตั้งค่าตามนี้เลย เข้าไปหลังบ้านแล้วตั้งค่าตามนี้ได้เลย https://www.youtube.com/watch?v=bXgMXK_2JfA Settings เมนูนี้ให้ติ๊กทุกช่องที่เราสามารถเลือกได้แล้วกด Save Cache Timeout กด Add New Rule แล้วตั้งค่าตามภาพ ตั้งไว้ให้ Clear Cache วันละ 1 ครั้งเวลา ตี 3.00 น. แล้วกด Save Image Optimization เมนูนี้เราจะใช้ปลั๊กอินนี้จัดการให้แทนครับ เว็บเร็วขึ้นด้วย Imagify สุดยอดปลั๊กอินลดขนาดรูป CDN Settings คลิกที่ CDN by Photon ตามภาพ เลือก...
social share
ใครที่กำลังมองหาปลั๊กอิน social share สำหรับทำปุ่มแชร์บทความที่มีไลน์มา เหมาะกับการใช้งานของคนไทย บทความนี้ผมได้รวบรวมมาให้แล้ว เลือกใช้กันได้ตามใจชอบ  Social Share   WordPress Plugins 1.Seed Social ปลั๊กอินฝีมือคนไทยจาก SeedThemes จุดเด่นของ seed social คือความเบา มีเท่าที่คนไทยนิยมใช้จริง ๆ ใครที่ชอบปลั๊กอินที่ไม่ต้องตั้งค่าอะไรเยอะ แนะนำตัวนี้ครับ ใช้ง่ายมาก ๆ มี Shortcode ให้ใช้งาน copy ไปใช้งานได้เลย สะดวกมาก ๆ เลือกได้ว่าจะให้ปุ่มแชร์บริเวณไหนของบทความเช่น ส่วนบนของบทความ ส่วนท้ายของบทความ   2.Free Tools to Automate Your Site Growth สำหรับปลั๊กอิน Sumo นี้เป็นปลั๊กอินที่ค่อนข้างครบเครื่องทำได้หลายอย่างเช่น Email newsletter Share Google Analytics Heat Maps มีหลายเว็บที่ใช้ปลั๊กอินนี้อยู่รวมทั้ง CodingDee.com ก็ใช้เหมือนกันผมชอบตรงที่เวลาเปิดในมือถือปุ่มแชร์มันจะเลื่อนตามตลอดและอยู่ใกล้นิ้วหัวแม่มือ ทำให้กดแชร์ได้ง่าย   3.Share Buttons by AddThis ปลั๊กอินนี้คล้าย ๆ กันกับ Sumo ตัวบนแต่ผมไม่ชอบตรงที่เวลากดแชร์มันจะวิ่งไปที่เว็บ AddThis ก่อนแว๊บนึงแล้วค่อยวิ่งต่อไปที่...
Add To Cart
บทความนี้ CodingDee จะมาแชร์ประสบการณ์ที่เราได้ทดลองปรับปรุงปุ่ม Add To Cart สำหรับร้านค้า WooCommerce ว่าทำยังให้ลูกค้าสามารถใช้งานใน Mobile ได้ดีขึ้น กดได้ง่ายขึ้น มาดูวิธีทำกันเลยครับ   "วิธีแก้ไขปุ่ม Add To Cart" ให้ลูกค้าใช้ง่ายขึ้น ปุ่มแบบเดิม ปุ่ม Add To Cart แบบเดิมที่ WooCommerce ให้มาเวลาลูกค้าเลื่อนดูรายละเอียดสินค้า ปุ่มมันจะไม่ตามไปเวลาเรา scoll ซึ่งใช้งานในโมบายได้ค่อนข้างยาก จะกดปุ่มแต่ละครั้งลูกค้าต้อง scoll กลับขึ้นมาด้านบนของเพื่อกด Add To Cart เรื่อง UI ยังไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่แต่ UX นี้ไม่ดีเลย ผมเลยลองหาดูตัวอย่างจากเว็บ E-Commerce อื่น ๆ ว่าเค้าทำยังไง ผมเข้าไปดูที่ Lazada ว่าเค้าจัดการวางปุ่มพวกนี้ยังไง โดยเฉพาะเมื่อเข้าผ่านโทรศัพท์ปรากฏว่าเค้าใช้วิธีให้ปุ่มแสดงอยู่ที่ด้านล่างของจอใกล้ ๆ นิ้วหัวแม่มือเราเพื่อให้ง่ายแก่การกดปุ่ม Add To Cart และเวลา scoll อ่านรายละเอียดสินค้า ปุ่มนี้ก็ยังคงเลื่อนตามเราตลอด ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเลื่อนไปเลื่อนมา กดได้สะดวกขึ้น ลองดูภาพถัดไปเมื่อผมลองย้ายปุ่มมาไว้ด้านล่าง ปุ่ม Add To Cart...
Allowed Memory size Exhausted WordPress
Allowed Memory size Exhausted WordPress เป็นอีกปัญหายอดฮิตที่พบเจอได้บ่อยเช่นกัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตั้งค่าโฮสที่ไม่เหมาะสมกับ WordPress พอเราใช้งานเว็บไปสักพักก็อาจจะเจอข้อความลักษณะแบบนี้โผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นประจำ "Fatal error: Allowed memory size of 86735766 bytes exhausted" วิธีแก้ Allowed Memory size Exhausted WordPress อาการนี้มันจะเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งผมเองได้พบวิธีแก้ไขปัญหานี้อยู่ 2 วิธีดังนี้ครับ วิธีที่ 1.เพิ่มโค๊ดชุดนี้เข้าไปที่ไฟล์ wp-config.php define( 'WP_MEMORY_LIMIT', '1024M' ); วิธีที่ 2.แจ้งโฮสที่เราใช้งานอยู่ หากลองวิธีที่ 1 แล้วยังแก้ไม่หายวิธีสุดท้ายคือแจ้งโฮสที่เราใช้งานอยู่ให้ทางโฮสเค้าแก้ให้ครับ เพราะบางโฮสเค้าอาจจะตั้งค่าเฉพาะไว้เราไม่สามารถแก้ไขเองได้ ปกติแล้วหากเป็นโฮสที่ถูกออกแบบมาสำหรับ WordPress โดยเฉพาะ  ปัญหานี้จะไม่มีมากวนใจเราเลยครับ ก่อนจะใช้โฮสที่ไหนก็เลือกกันดี ๆ หรือถามเค้าก่อนว่ารองรับ WordPress หรือเปล่าก็จะช่วยได้เยอะครับ หรือใครไม่ทราบ ไม่มีคนปรึกษาจริง ๆ ก็ทักทีมงานเข้ามาได้ครับเดี๋ยวเราช่วยแนะนำให้ จบแล้ว หากอ่านแล้วชอบบทความจาก CodingDee ก็ฝาก กดไลค์เพจ ด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดข่าวสารเทคนิคดี ๆ จากเรา หรือติดปัญหาตรงไหนก็คอมเมนต์ไว้ด้านล่างนี้ได้ ไว้พบกันบทความต่อไปครับ
Facebook Pixel with Google Tag Manager
Facebook Pixel สำหรับใครที่ทำงานด้าน Digital Marketing ผมมั่นใจว่าต้องได้ติดกันแน่นอน สำหรับออฟฟิศที่มี โปรแกรมเมอร์ก็อาจจะให้เค้าช่วยติดให้ได้ แต่ถ้าไม่มีล่ะ หรือโปรแกรมเมอร์งานยุ่งมาก ยังไม่ว่างติดให้หรอก เราจะทำยังไงดี Facebook Pixel with Google Tag Manager ถ้าใครเป็นคนที่ชอบอะไรที่ง่าย ๆ และรวดเร็ว CodingDee มีวิธีที่เหมาะกับคุณ ไม่ต้องรอโปรแกรมเมอร์ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม ไม่กี่คลิกก็ติด Pixel ได้ มาดูวิธีกันเลย ใครยังไม่ได้ติด Google Tag Manager มาอ่านนี่ก่อนน่า  Google Tag Manager สำหรับ WordPress  ใครติดแล้วก็ไปต่อได้ วิธีสร้าง Pixel เข้าไปที่  Menu Pixels อยู่ใน Ads Manager คลิก  Create a Pixel ตั้งชื่อให้ Pixel ของเรา จะเป็นชื่อเว็บหรือชื่ออะไรก็ได้ตามใจชอบครับ คลิก ยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน Click Create Pixel. อ่านวิธี Create Pixel เพิ่มเติมได้ ที่นี่ หลังจากได้...
เว็บเร็วขึ้น ด้วย Imagify
เว็บเร็วขึ้น ด้วย Imagify สุดยอดปลั๊กอินลดขนาดรูปที่ใครหลายคนมองข้าม บทความนี้ทีมงาน CodingDee จะมารีวิวปลั๊กอินที่ช่วยลดขนาดรูปภาพให้เล็กลงโดยที่รูปไม่แตก มาดูกันเลยครับว่ามันเจ๋งยังไง เว็บเร็วขึ้น ด้วย Imagify สุดยอดปลั๊กอินลดขนาดรูป สำหรับ WordPress มีปลั๊กอินที่ช่วยลดขนาดรูปภาพเพื่อให้เว็บเร็วขึ้นอยู่หลายตัวมากซึ่งแต่ละตัวก็มีความสามารถแตกต่างกันไป แต่มีปลั๊กอินอยู่ตัวนึงที่หลาย ๆ คนมองข้ามไปรวมถึงตัวผมเองด้วยเพิ่งจะมารู้จักมันจากคุณเม่นเมื่อปีที่แล้วนี้เอง หลังจากที่ผมลองใช้แล้วก็พบว่า นี่มันเป็นปลั๊กอินที่โคตรเจ๋งเลยทำไมเราไม่เคยได้ยินชื่อมันเลย สำหรับผมแล้วผมชอบกว่าตัวดัง ๆ ที่ใช้อยู่ซะอีก มาดูกันว่ามันมีอะไรให้เราเล่นบ้าง มีระดับการบีบอัดให้เลือกถึง 3 ระดับ Normal บีบแบบธรรมดา ลดขนาดรูปลงนิดหน่อย ไม่สูญเสียความละเอียดของภาพ Aggressive บีบเยอะขึ้นมาหน่อย  สูญเสียความละเอียดของภาพเล็กน้อย ค่าเริ่มต้นของปลั๊กอินจะตั้งค่านี้มาให้ Ultra บีบแบบหน้าเขียวกันเลย ไฟล์เล็กสุด ๆ สูญเสียความละเอียดของภาพไปพอสมควรแต่สำหรับผมแล้วถ้าไม่มองจริง ๆ ก็มองไม่ออกลองดูภาพข้างล่างนี้ดูครับ ผมบีบด้วยระดับ Ultra ผมชอบตรงนี้แหละที่เราสามารถเลือกระดับการบีบได้ว่าต้องการระดับไหน ส่วนปลั๊กอินตัวอื่นจะไม่มี ฝั่งซ้ายคือก่อนบีบ ขนาด 166 KB ส่วนฝั่งขวาคือหลังจากบีบแล้วเหลือแค่ 28 KB เท่านั้น มี Credit ให้เราใช้ฟรี ๆ 100 Credit ต่อเดือน ปลั๊กอินนี้เค้าจะมี Credit มาให้เราใช้ฟรี ๆ เลย 100 Credit ต่อเดือนถ้าเราใช้หมดแล้วอยากใช้เพิ่มต้องจ่ายตังค์...
live chat WordPress
Live Chat WordPress จริง ๆ แล้วมีน้องคนนึงทักเข้ามาในเพจนานแล้วให้ผมเขียนเรื่องนี้ แต่เนื่องจากปลายปีที่ผ่านมาผมยุ่งมาก ๆ เลยไม่ได้เขียนให้ เริ่มปีใหม่มาเลยจะเคลียร์บทความที่ค้างคากับลูกเพจไว้สักหน่อย (ค้างอยู่หลายคนมาก) Live Chat WordPress Chat ง่าย ๆ ด้วย Facebook Messenger แบบไม่ต้องใช้ปลั๊กอิน WordPress มีปลั๊กอินสำหรับที่สามารถทำ chat อยู่หลายตัวก็จริงแต่ผมเองเป็นประเภทที่ไม่ชอบลงปลั๊กอิน (ถ้าไม่จำเป็น) ซึ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเฟสบุ๊คเองก็ปล่อยฟีเจอร์สำหรับให้ลูกค้าที่เข้าเว็บมาสามารถ chat ผ่านหน้าเว็บได้เลยโดยที่เราแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยมีขั้นตอนเล็ก ๆ น้อย ๆสำหรับเปิดใช้งานซึ่งตรงกับความต้องการของผมมาก ผมเลยทดลองนำมาติดใส่ CodingDee.com ดูซะเลยใช้เวลาจริง ๆ ไม่เกิน 5 นาทีก็เสร็จแล้วหากใครอยากลองทำบ้างก็สามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ได้เลยครับ ข้อกำหนดในการใช้งานมี 3 ข้อ เว็บที่จะใช้งาน Messenger ได้ต้องติดตั้ง HTTPS แล้วเท่านั้น ใช้ชื่อโดเมนเท่านั้น เช่น https://codingdee.com สำหรับการใส่ไว้ในไวท์ลิสต์ ไม่รองรับที่อยู่ IP และ localhost สำหรับการใส่ไว้ในไวท์ลิสต์ วิธีในการติดตั้งมีอยู่ 3 ขั้นตอนง่ายมาก 1.เราต้องมี App ID สำหรับจะใช้งานกันก่อนใครยังไม่มีไปสร้างมาก่อนนะครับ สร้าง App 2.เพิ่มโดเมนเราเข้าไว้ใน Whitelist โดยเข้าไปที่เพจที่เราต้องการแล้วเลือก...

Google Tag Manager

Facebook Pixel with Google Tag Manager

Facebook Pixel with Google Tag Manager

Facebook Pixel สำหรับใครที่ทำงานด้าน Digital Marketing ผมมั่นใจว่าต้องได้ติดกันแน่นอน สำหรับออฟฟิศที่มี โปรแกรมเมอร์ก็อาจจะให้เค้าช่วยติดให้ได้ แต่ถ้าไม่มีล่ะ หรือโปรแกรมเมอร์งานยุ่งมาก ยังไม่ว่างติดให้หรอก เราจะทำยังไงดี Facebook Pixel with Google Tag Manager ถ้าใครเป็นคนที่ชอบอะไรที่ง่าย ๆ และรวดเร็ว CodingDee มีวิธีที่เหมาะกับคุณ ไม่ต้องรอโปรแกรมเมอร์ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม ไม่กี่คลิกก็ติด Pixel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า